ท่อเหล็กโครงสร้างรูปพรรณที่ใช้ในการก่อสร้าง
ท่อเหล็กโครงสร้างรูปพรรณสำหรับการก่อสร้าง สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภทหลัก นั้นก็คือ ท่อเหล็กสำหรับงานโครงสร้างและท่อเหล็กสำหรับงานระบบ โดยท่อเหล็กที่นิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างจะนำไปใช้ในส่วนของโครงสร้างตัวอาคาร โครงสร้างเสา หลังคา ผนังอาคาร หรือนำไปตกแต่งเพื่อความสวยงามของอาคาร ส่วนท่อเหล็กสำหรับงานระบบนั้นจะนำไปใช้ในงานเชิงระบบต่างๆ เช่น ระบบดับเพลิง ระบบประปา ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น
ประโยชน์ของงานโครงสร้างเหล็ก
- 1. ช่วยกระจายฐานการผลิตและงานประกอบล่วงหน้า เพราะสามารถประกอบท่อเหล็กได้ล่วงหน้าก่อนนำมาติดตั้ง ช่วยลดโอกาสความผิดพลาดและสูญเสียชิ้นงานระหว่างดำเนินการที่หน้างาน และยังช่วยให้งานเสร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- 2. ช่วยลดต้นทุนได้ในระยะยาว แม้ในช่วงแรกอาจจะใช้เงินลงทุนสูง แต่ต้นทุนในการดูแล ซ่อมบำรุงจะลดลง
- 3. โครงสร้างเหล็กรื้อถอนได้ง่าย สามารถนำเหล็กที่รื้อถอนแล้วกลับมาใช้ต่อหรือนำไปขายต่อได้ ต่างจากโครงสร้างคอนกรีตซึ่งรื้อถอนได้ยากและอาจจะเกิดปัญหาเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขณะรื้อถอนอีกด้วย
- 4. โครงสร้างเหล็กที่สวยงาม ทําให้สถาปนิกสามารถใช้โครงสร้างอาคารเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งอาคารได้ เช่น โครงหลังคาของสนามบินสุวรรณภูมิ, โครงหลังคาของสระว่ายน้ํามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 5. ง่ายต่อ การทาสี หรือ ป้องกันไฟไหม้ โครงสร้างพื้นที่ผิวมีน้อยกว่าเหล็กรูปพรรณแบบเปิดเหล็กรูปตัวไอ
- 6. โครงสร้างอาคารที่ใช้โอกาสที่ฝุ่นจะติดน้อยกว่า เนื่องจากไม่มีซอกหรือมุมเหมือนโครงสร้างแบบเปิด (H-Beam)
จะเห็นได้ว่าการก่อสร้างในปัจจุบันนั้นพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านการประหยัดเวลาและความยืดหยุ่นในการก่อสร้าง การก่อสร้างในปัจจุบันบางส่วนเน้นการเปลือยโครงสร้างให้เห็นชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีของเหล็กรูปพรรณประเภทท่อเหล็ก เนื่องจากมีรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงามเมื่อเปรียบเทียบกับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณอื่นๆ
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง (Hollow Structure Steel) เหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวงจาก สหไทยสตีลไพพ์เป็นเหล็กที่ผ่านกระบวนการม้วนและเชื่อมให้ติดกัน (Welded Pipe) เพื่อนําไปใช้สําหรับงานโครงสร้างหรืองานระบบต่างๆ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวงนี้มีศักยภาพในการประยุกต์ใช้สูง นอกจากจะสามารถทดแทนโครงสร้างดั้งเดิมจําพวกคอนกรีตเสริมเหล็กได้แล้ว ยังสามารถทดแทนเหล็กโครงสร้างหน้าตัดผนังบางชนิดเปิด (Open Sections) เช่น ตัว I-Beam, H-Beam ด้วยคุณสมบัติที่เหนือกว่าทั้งในด้านความแข็งแกร่ง (Stiffness) และการมีรูปทรงหน้าตัดที่มีเสถียรภาพ (Stability) และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกล (Mechanical properties) และรูปทรงเรขาคณิต (Geometrical Properties) ของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวงและหน้าตัดเปิดแล้วจะเห็นได้ถึงการลดปริมาณวัสดุภายใต้สภาวะแรงกระทําในหลายๆ ลักษณะได้